วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

จะรู้ได้อย่างไรว่ามะพร้าวแก้วแบบไหนเป็นเกรด A หรือเกรด B






มะพร้าวแก้วแผ่น ทำจากมะพร้าวอ่อนพันธุ์พื้นบ้าน ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทของหวานทานเล่นของ อ.เชียงคาน จ.เลย ลักษณะจะเป็นแผ่นหนา ขนาดใหญ่ เนื้อนุ่ม รสหวานอ่อนๆ และมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน สามารถเก็บไว้รับประทานนานถึง 10 วัน (ควรเก็บห่างไกลจากพื้นที่ที่มีความชื้น และควรรับประทานให้หมดทุกครั้งที่แกะถุง หรือไม่ควรให้อากาศภายนอกเข้าไปภายในถุง) ไม่มีส่วนผสมของสารกันเสีย สำหรับมะพร้าวแก้วแผ่นจะแบ่งออกเป็น 2 เกรดดังนี้




- เกรด A : เป็นชิ้นที่ถูกคัดสรรมาอย่างดีที่สุด จะมีลักษณะ แผ่นหนา ขนาดใหญ่ เนื้อนุ่ม รสหวานอ่อนๆ กลิ่นหอม(เวลาแคะเนื้อมะพร้าวออกมาจากกะลา จะฝานเป็นชิ้นได้แค่ครั้งเดียว) -  เกรด B : เป็นชิ้นที่ถูกคัดสรรออกมาจากเกรด A จะมีจำนวนค่อนข้างมาก จะมีลักษณะ แผ่นหนา ขนาดเล็ก เนื้อแข็งนิดหน่อย รสหวานอ่อนๆ กลิ่นหอม (เวลาแคะเนื้อมะพร้าวออกมาจากกะลา เกรด B จะเป็นเนื้อมะพร้าวที่ฝานออกมาจากเกรดA และเนื้อที่ฝานออกมาจากเกรดA จะฝานต่อได้อีก จนกว่าจะได้ขนาด)







วัสดุ/อุปกรณ์และขั้นตอนการลงมือทำ





วัสดุ / อุปกรณ์ 





-          มะพร้าวอ่อน
-          น้ำตาลทราย
-          เกลือไอโอดีน
-          กระทะ
-          ทับพี
-          เตาแก๊ส
-          สีผสมอาหาร(ถ้าต้องการเพิ่มสีสัน)







 ขั้นตอนการลงมือทำ



-          ผ่ามะพร้าวและใช้พายแคะเนื้อมะพร้าว และใช้มีดปลอกเปลือกสีน้ำตาลที่ติดอยู่บริเวณเนื้อมะพร้าวออก

-          คัดแยกมะพร้าว ขนาดอ่อนจะเป็นชนิดแผ่น ( ถ้ามะพร้าวแก่จะเป็นมะพร้าวแก้วชนิดเส้น)

-          ใช้มีดสองคมฝานเป็นชิ้นหนาและบาง ตามชนิดและขนาด(ถ้าเป็นเกรดAจะฝานได้แค่ครึ่งเดียว,ถ้าเป็นเกรดBจะฝานได้ไม่เกิน3ครั้งของชิ้นมะพร้าวที่แคะออกมาจากกะลา)

-          จากนั้นเอามะพร้าวที่คัดแยกเกรดได้แล้วไปล้างน้ำสะอาด

-          หลังจากล้างเสร็จแล้ว ให้น้ำไปคั่วในส่วนผสมที่มะพร้าว 5 กิโลกรัม ต่อ น้ำตาล2 กิโลกรัม และเติมเกลือครึ่งช้อนโต๊ะ

-          ใช้เวลาในการคั่ว 1ชั่วโมง  จากนั้นก็นำขึ้นมาพักในกะละมังให้เย็น แล้วนำบรรจุภัณฑ์ขายได้เลย

มารู้จักกับมะพร้าวแก้วกันเถอะ






มะพร้าวแก้วเป็นขนมไทยที่กลุ่มสตรีแม่บ้านได้ทำขึ้นเพื่อเป็นอาชีพเสริมโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานอุสาหกรรมจังหวัดและต่อได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เรื่อยๆจนกลายเป็นอาชีพหลักของกลุ่มแม่บ้าน จนกลายเป็นของฝากจากเชียงคานที่นักท่องเที่ยวมักนิยมซื้อไปฝากเพื่อนๆญาติๆทุกครั้งที่มาถึงอำเภอเชียงคาน ซึ่งปัจจุบันได้มีร้านจำหน่ายสินค้าประเภทมะพร้าวแก้วเป็นจำนวนมากและเป็นที่ยอมรับจากนักท่องเที่ยวทุกเพศ ทุกวัย เพราะมะพร้าวแก้วที่กลุ่มแม่บ้านทำจำหน่ายนั้น เป็นอาหารทานเล่น ที่มีรสชาติ หอม หวาน นุ่มอร่อยติดปาก มะพร้าวที่ใช้ทำ คือมะพร้าวอ่อน ที่หาได้บริเวณใกล้หมู่บ้าน หรือพ่อค้าแม่ค้าบางรายก็สั่งออเดอร์จากต่างจังหวัดที่มีมะพร้าวเยอะ และที่สำคัญกลุ่มแม่บ้านหรือชาวบ้านที่ทำธุรกิจค้าขายมะพร้าวแก้วยังใจดี พร้อมที่จะเผยแพร่เคล็ดลับวิธีการทำ ให้กับบุคคลที่สนใจที่จะประกอบอาชีพนี้และคิดที่จะต่อยอดสินค้าประเภทนี้ให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักมากขึ้น โดยไม่หวงสูตรเลยค่ะ























วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ภาพถ่าย





                                 ภาพนี้คือ ขั้นตอนการแคะเนื้อมะพร้าวออกจากกะลา









ภาพนี้คือ มะพร้าวที่แคะเนื้ออกจากกะลานำมาแช่น้ำมะพร้าวที่ได้จากการผ่าเอาน้ำออก เพื่อรอตกแต่ง


 เนื้อมะพร้าว







 
ภาพนี้คือ เนื้อมะพร้าวที่ตกแต่งเสร็จแล้วรอการคัดแยกเกรด












ภาพนี้คือ มะพร้าวที่คัดแยกเกรดแล้วน้ำไปล้างน้ำสะอาด จากนั้นนำมาลงกระทะเติมส่วนผสมใช้เวลา คั่ว 1ชั่วโมง










ภาพนี้คือ มะพร้าวแก้วแผ่นที่ได้จากการคั่วเป็นเวลา1ชั่วโมง เตรียมบรรจุภัณฑ์














ภาพนี้คือ  เมื่อบรรจุภัณฑ์เสร็จก็นำวางฝากขายเป็นของฝากแก่นักท่องเที่ยว

วิดีโอขั้นตอนการทำ











วิดีโอนำเสนอขึ้นตอนการทำมะพร้าวแก้ว

Creative Commons License
coconutkeaw by Walisa Pp is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Unported License.

ความเป็นมา




    ในปี 2527   กลุ่มสตรีแม่บ้านได้รวมกลุ่มกันเพื่อต้องการเสริมสร้างหลังจากฤดูการเพาะ ปลูก ให้มีรายได้เสริมากอาชีพหลัก โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลย ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่อาหาร ขนมและมะพร้าวแก้ว






    ในปี 2536  กลุ่มแม่บ้านได้มีการเรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากการผลิตเพื่อเป็นรายได้เสริม  ได้กลายมาเป็นรายได้หลัก  เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน(แก่งคุดคู้) เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นและกลุ่มแม่บ้านได้รับการสนับ สนุนงบหน่วยประมาณ และเรียนรู้เพิ่มเติม กลุ่มแม่บ้านเป้นที่รู้จักและขยายการผลิตไปยังชุมชน และสินค้าเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวซื้อไปเป็นของฝากจากเชียงคาน





    ในปี 2537  สำนักงานพัฒนาชุมชน   ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน   สำนักงานเกษตรอำเภอ    พานิชย์จังหวัด  ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนเพื่อยกระดับ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง  ทั้งในรูปแบบของอาคารสถานที่  วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น และเริ่มมีการยกระดับของสินค้าให้ได้มาตรฐาน มีเทคนิคการบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยสวยงาม  สะอาดถูกหลักอนามัย เป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น  โดยได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานอาหารและยา เครื่องหมาย อย.  จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย รวม5ชนิดได้แก่  มะพร้าวแก้วชนิดแผ่น  มะพร้าวแก้วชนิดเส้น  กล้วยทอด  กล้วยอบเนยและขนมทองทับ






    ในปี  2539  จนถึงปัจจุบัน  สมาชิกกลุ่มได้ขอแยกตัวไปเพื่อประกอบเป็นกิจการส่วนตัว พร้อมยังเผยแพร่วิธีการทำ ให้กับญาติ พี่น้อง ทำให้มีร้านจำหน่ายเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเป้นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยว  จนพัฒนากลายมาเป็นอาชีพหลักที่ทำรายได้ให้ชุมชน และมีการจัดตั้งกลุ่มในลักษณะเดียวกันขึ้นอีกหลายกลุ่ม ในปัจจุบัน